ติดต่อเรา
ความรู้เรื่อง Relay
 

รับประกันสินค้าใหม่ทุกชิ้น มีปัญหาสามารถเปลี่ยนหรือคืนเงินได้

กรุงเทพฯ
- รับสินค้าได้ ณ ห้าง Lotus ลาดพร้าว ตรงข้าม Central ลาดพร้าว
- จัดส่งด่วนตามสถานี รถไฟฟ้า ทั้งใต้ดิน และ ลอยฟ้าค่าจัดส่ง 50 บาท
ซื้อสินค้า 5 ชิ้นขึ้นไปจัดส่งฟรี!

กรณีต่างจังหวัด
จัดส่งพัสดุธรรมดาทั่วประเทศ 50 บาท EMS คิดค่าส่ง 150 ครับ
(เพิ่มตามน้ำหนักสินค้า)

ขั้นตอนการสั่งซื้อ
เพื่อความสะดวก กดที่นี่ค่ะ

ติดต่อ
ติดต่อสอบถามทางเมล์ได้ 24 ชั่วโมง
e-mail : art_mr2u@hotmail.com
ติดต่อทุกวัน 9.00 - 19.30น.
Tel : 08-1570-8557, 08-4795-6875,
08-6321-2528

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Relay ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ
ถ้าระบบไฟเดิมสมบูรณ์ และมีความสามารถในการทดกระแสสูงได้ การติด relay ก็ไม่มีความจำเป็น

ระบบไฟของรถในอุดมคติ จะมีแรงดันอยู่ที่ 14.4 volt ซึ่งในระบบจริงๆ ก็จะมีแรงดัน อยู่แถวๆ 13-14 volt ถ้าระบบสมบูรณ์ แรงดันที่ตกคร่อมหลอดก็จะอยู่ที่ 13-14 volt
ต่อ relay เข้าไป แรงดันตกคร่อมก็ได้เท่านั้น ไม่มีทางได้มากกว่านั้น แต่ถ้าระบบเดิมแย่ แรงดันที่ตกคร่อมหลอด อาจจะเหลือไม่ถึง 13 volt กรณีแบบนี้จึงควรต่อ relay เพื่อทำให้แรงดันตกที่ตกคร่อมหลอดมีค่าตามทีควรจะเป็น ส่วนพวกที่จะติด relay เดินสายไฟเส้นโต เพื่อใช้หลอดวัตต์สูง นั้นผมไม่สนับสนุน ใครอยากทำก็ทำไป แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า "เวรกรรมมีจริง"

เมื่อเปิดไฟหน้าสองหลอด แรงดันที่ตกคร่อมหลอดอาจจะลดลงเหลือ 13.9 volt
ที่แรงดันลดก็เพราะการดึงกระแสของหลอดไฟ ไม่ใช่เพราะแรงดันมันไปตกคร่อมสายไฟ
พวกค่าแรงดันที่ตกคร่อมตามสายนั้น มันมีค่าน้อยมากๆ (ถ้าระบบไม่แย่เกินเหตุ)
สมมติถ้าหลอดระเบิดขาดไปข้างนึง แรงดันก็อาจจะเพิ่มขึ้นมาที่ 14.0 volt
ซึ่งถ้าใช้หลอดไฟที่ออกแบบมาตามมาตรฐาน มันก็คงไม่ขาดตามไปด้วย
เพราะเขาออกแบบมารองรับได้ถึงระดับ 14.4 volt ได้แบบสบายๆ

รีเลย์ (Relay)

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์มีหลักการทำงาน
คล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์ (solenoid)
รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์
เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะ
การใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. รีเลย์กำลัง ( Power relay) หรือมักเรียกกันว่า
คอนแทกเตอร์ (Contactor or Magnetic contactor)
ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา


2. รีเลย์ควบคุม (Control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้า
ต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อ
การควบคุมรีเลย์หรือคอนแทกเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุม
บางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รีเลย์"

หน้าที่ของคอนแทกเตอร์ คือ การใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนน้อย
เพื่อไปควบคุมการตัดต่อกำลังไฟฟ้าจำนวนมาก คอนแทกเตอร์
ทำให้เราสามารถควบคุมกำลังไฟฟ้าในตำแหน่งอื่นๆ ของระบบ
ไฟฟ้าได้ สายไฟควบคุมให้รีเลย์กำลังหรือคอนแทกเตอร์ทำงาน
เป็นสายไฟฟ้าขนาดเล็กต่อเข้ากับสวิตช์ควบคุมและคอล์ยของ
ของคอนแทกเตอร์ กำลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าคอล์ยอาจจะเป็นไฟฟ้า
กระแสตรง หรือไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
การใช้คอนแทกเตอร์ทำให้สามารถควบคุมวงจรจากระยะไกล
(Remote) ได้ ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน
ในการควบคุมกำลังไฟฟ้า

คอนแทกเตอร์ (Contactors) นอกจากจะมีหน้าสัมผัสทั้งส่วนเคลื่อน
ที่ และหน้าสัมผัสส่วนที่อยู่กับที่แล้วหน้าสัมผัสภายในของคอนแทกเตอร์ยังแบ่ง
ออกเป็น 2 ส่วนตามลักษณะของการทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ คือ

1. หน้าสัมผัสหลัก (Main Contacts) โดยปกติแล้วหน้าสัมผัสหลักมี 3 อัน
สำหรับส่งผ่านกำลังไฟฟ้า 3 เฟสเข้าไปสู่มอเตอร์ หรือโหลดที่ใช้แรงดันไฟฟ้า
3 เฟส หน้าสัมผัสหลักของคอนแทกเตอร์มีขนาดใหญ่ทนแรงดันและกระแส
ได้สูง หน้าสัมผัสหลักเป็นชนิดปกติเปิด (Normally open;N.O. contact)
อักษรกำกับ หน้าสัมผัสด้านแหล่งจ่ายคือ 1, 3, 5 หรือ L1, L2, L3 และด้าน
โหลดคือ 2, 4, 6 หรือ T1, T2, T3 ดังรูป

2. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contacts) หน้าสัมผัสชนิดนี้ติดตั้งอยู่ด้าน
ข้างทั้งสองด้านของตัวคอนแทกเตอร์ มีขนาดเล็กทนกระแสได้ต่ำทำหน้าที่
ช่วยการทำงานของวงจร เช่น เป็นหน้าสัมผัสที่ทำให้คอนแทกเตอร์ทำงานได้
ตลอดเวลา หรือเรียกว่า "holding" หรือ "maintaining contact" หน้า
สัมผัสช่วยนี้จะเป็นหนัาสัมผัสแบบโยกได้สองทาง โดยจะถูกดึงขึ้น-ลงไปตาม
จังหวะการดูด-ปล่อยของคอนแทกเตอร์ อักษรกำกับหน้าสัมผัสช่วย จะเป็น
13, 14 สำหรับคอนแทกเตอร์ที่มีหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติเปิด 1 ชุด ถ้ามี
N.O. ชุดที่ 2จะเป็น 23, 24 และหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติปิดจะมีอักษรกำกับ
เป็น 31, 32 และ 41, 42

 

ย้อนกลับ

สนใจลงโฆษณาติดต่อ
nekketsu_racing@yahoo.com
สนใจลงโฆษณาติดต่อ
nekketsu_racing@yahoo.com